ราคาเปิดตัวของเครื่องรุ่นนี้ ก็ประมาณ 12900 บาท และลดลงมาเรื่องๆจนอยู่ที่ 11500 เป็นราคาสุดท้ายก่อนสิ้นสุดการผลิดแล้วเปลี่ยนเป็น MG แทนในรุ่นต่อมานั้นเอง จัดว่าเป็นปริ้นที่มีความคมชัดสุงสุดในสาย Mutifuction เท่าที่ Canon เคยทำมา และหาซื้อยากเช่นกัน
รายละเอียดตัวเครื่องโดยประมาณ...
ความละเอียดในการพิมพ์ 9600*2400 dpi / ความละเอียดสแกน 4800*9600 dpi / ขนาดหยดหมึก 1 pl. / ความเร็วในการพิมพ์ 26/21 แผ่นต่อนาที (ขาว-ดำ/สี) / CD Printing / Auto Duplex / 2 Way Paper Feeding พิมพ์ภาพถ่าย 4*6 20 วินาที / ตลับหมึกแยก 6 สี เนื่องจากตัวเครื่องมีน้ำหนักที่มาก มายมหาสาร หนักกว่าทุกๆเครค่ื่องที่ผมเคยเจอมา จึงไม่สะดวกแน่ๆถ้าจะติด Tank แล้วไม่มีการยืดเกาะที่ดี
Designs ของเครื่องนั้นบอกได้เลยว่าเก็บงานได้เนียนทุกรายละเอียดสมกับเป็นรุ่น Top กันเลยทีเดียว
วันนี้ผมจะพาทุกๆท่านไปดูการทำซับหมึกทิ้งของรุ่นนี้กัน
หลังจากแกะฝาข้างได้แล้ว ก็ยกฐานออกตามที่ช่างปริ้นหลายๆคนเข้าใจ หากไม่เข้าใจ เดียวว่างๆจะเอาลง แบบละเอียดอีกทีนะครับ
เปิดเครื่องมาได้จะเห้น คานเหล็ก แน่นอน มันอัดแน่นไปด้วยแผงวงจรจิงๆนั้นละ เยอะมากๆจนเดาไม่ถูกว่าอะไรเป็นอะไร หลังจากนั้นแกะน๊อท 5 ตัวก็จะสามารถยะทั้งแผงได้เอง *-*
ภาพของสายน้ำหมึกทิ้งจุดที่ 1 มันเยอะมากจนบอกไม่ถูกเพราะระบบดูดหมึกของ ปริ้นรุ่นใหญ่ๆของ canon จะใช้ระบบดูด แบบ 3 ท่อ ไม่เหมือนกับพวกรุ่นเล็กๆที่เป็น 2 และรุ่นใหม่ๆแค่ 1 *-*
เราจะเดินสายหมึกทิ้งออกหลังเครื่องโดนต้องผ่าน มอเตอร์ด้วย เพราะมันเป็นช่องทางเดียวที่เดินสายได้สวยงาม 5555
ติดกาวเล็กน้อยกันมันเพี้ยนจากที่วางแผนไว้
คงหมดแล้ว สำหรับการเดินสาย ประกอบกลับ ที่เป้นด้านขวามือเป็น Scaner part ใหญ่โตเหมือนกัน สมกับเป็นรุ่นใหญ่จิงๆ
หวังว่าทุกท่านคงประกอบกลับได้อย่างปลอดภัย การประกอบแกะแกะปริ้นมีความเสี่ยง ผมไม่ของรับผิดชอบใดๆกับการกระทำตามแบบอย่างผมในครั้งนี้
ปล.ผมเองก็ทำสาย เข้า part sacner มีปัญหา กว่าจะแก้ได้เอาเหนือยมากจิงๆ